เรีนรอภิธรรมได้ประโยชน์อย่างไร
หลักสูตรและเนื้อหาวิชาตามลำดับชั้นเรียน
อาจารย์ที่สอนในแต่ละขั้นเรียน
------------------------------------------------------
เรียนพระอภิธรรมได้ประโยชน์
อย่างไร
1. เป็นการเข้าถึงแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาอย่างประเสริฐสุด
เพราะพระอภิธรรมเป็นสัพพัญญุตญาณของพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์
2.. อ่านตัวเองออกบอกตนเองได้ ใช้ตนเองเป็น ใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าไม่เสียเวลาที่เกิดมาเป็นมนุษย์
3.. รู้และเข้าใจการทำงานของจิต เจตสิก รูป นิพพาน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต
4.. เกิดความรู้-ความเข้าใจ เรื่องการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์นรก
เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา
และพรหม สามารถเลือกที่จะเกิดและไม่เลือกเกิดในภูมิเหล่านี้ได้
5.. รู้และเข้าใจ ในการทำสมาธิ การทำฌาน การทำอภิญญา การเข้านิโรธสมาบัติ
การเข้าฌานสมบัติ
การเข้าผลสมาบัติ
6.. รู้และเข้าใจ เรื่องการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เพื่อลดละกิเลส
เข้าถึงมรรค ผล นิพพาน
7.. ได้ชื่อว่าเป็นผู้รักษาไว้ซึ่งมรดกธรรมอันล้ำเลิศ แม้ทวยเทพทั้งหลายก็อนุโมทนาสาธุการ
ฯลฯ
หลักสูตร การเรียนการสอนและปฏิบัติธรรม
มูลนิธิจัดให้มีการเรียนการสอนพระอภิธรรม ธรรมศึกษา การปฏิบัติธรรมในวันเสาร์-อาทิตย์
และวันพระ ที่ศาลาริมน้ำ และอาคารโรงเรียนพระปริยัติธรรม ตึก สธ.
วัดศรีสุดารามวรวิหาร
ชั้นจูฬอาภิธรรมิกะ มี ๓ ชั้น คือ
๑.ชั้นจูฬอาภิธรรมิกตรี (จูฬตรี)
เรียนอภิธัมมัตถสังคหะปริจเฉท ๑, ๒, ๖
ปริจเฉท ๑ จิตตสังคหะ ให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องของจิต (วิญญาณ)
ของคนและสัตว์ทั้งหลายว่า
ถ้าทำบาปผลจะนำเกิดในอบายภูมิ คือ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน ถ้าทำบุญผลบุญจะนำเกิด
เป็นมนุษย์ เทวดา ถ้าทำฌาน-อรูปฌาน ผลของฌาน-อรูปฌานจะนำเกิดเป็นรูปพรหม-อรูปพรหม
ถ้าทำ
วิปัสสนากรรมฐาน ผลการปฏิบัติจะเกิดปัญญาญาณ ลดละกิเลสเข้าถึงมรรคผล
นิพพาน
ปริจเฉท
๒ เจตสิกสังคหะ ให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องของสิ่งที่มาปรุงแต่งจิต
(วิญญาณ) ให้คิดที่จะทำบาป
บ้าง ทำบุญบ้าง ทำฌานบ้าง หรือวิปัสสนากรรมฐานบ้าง และจะล่วงรู้ว่าเจตสิกแต่ละดวงนั้น
สามารถ
เข้าปรุงแต่งจิตได้จำนวนเท่าไหร่ แล้วรู้ว่าจิตแต่ละดวงจะมีเจตสิกประกอบได้เท่าไรอีกด้วย
ปริจเฉท
๖ รูปปรมัตถ์ ให้ความรู้ความเข้าใจเรื่อง สรีระ รูป ร่างกายของคน-สัตว์ทั้งหลายว่า
ประกอบด้วย ๒๘ รูป แต่ละรูปนั้นเกิดจากอะไร จากกรรมบ้าง จิตบ้าง
อุตุบ้าง หรืออาหารบ้าง
เป็นกลุ่มๆ เรียกว่า กลาป แต่ละกลาปมีชื่อต่างๆกันไป และยังชี้ว่ารูป
๒๘ นี้ สามารถเกิดใน
ภพภูมิ กาล และกำเนิดใดได้บ้างในปริจเฉทนี้ยังกล่าวถึงเรื่อง
นิพพาน พร้อมพรรณนาถึงลักษณะ
ประเภท และการเข้าถึงนิพพานให้เข้าใจอีกด้วย
๒.
ชั้นจูฬอาภิธรรมิกโท (จูฬโท)
เรียนอภิธัมมัตถสังคหะปริจเฉท ๓, ๗
ปริจเฉท ๓ ปกิณณกสังคหวิภาค ให้ความรู้ความเข้าใจถึงความรู้สึกในใจที่เรามีต่อสิ่งที่มากระทบว่า
เรารู้สึกอย่างไร พอใจ ไม่พอใจหรือเฉยๆ จะเข้าใจเหตุที่ต้องสู่นรก
สวรรค์ และจะเข้าใจการทำงานของจิต ๑๔ อย่าง ว่าเป็นอย่างไร
ปริจเฉท ๗ สมุจจยสังคหะ เป็นการประมวลธรรมเข้าเป็น ๔ หมวด คือ
หมวดธรรมฝ่ายบาป หมวดธรรมที่ไม่เป็นบุญและบาป หมวดธรรมเพื่อการตรัสรู้
และหมวดธรรมที่จำแนกจิต เจตสิก รูป นิพพาน โดยความเป็นขันธ์
อุปาทานขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ
๓. ชั้นจูฬอาภิธรรมิกเอก (จูฬเอก)
ศึกษาคัมภีร์ธัมมสังคณี คัมภีร์แรกใน ๗ คัมภีร์ ให้ความรู้ความเข้าใจถึงการจำแนกองค์ธรรมของหัวข้อธรรม
ที่เป็นแม่บทในคัมภีร์ธัมมสังคณี ๓๕๐ บท โดยความเป็นขันธ์ อายตนะ
ธาตุ สัจจะ เช่น กุสลา ธมฺมา ธรรมที่เป็นกุศล องค์
ธรรมได้แก่ กุศล ๒๑ เจตสิก ๓๘ จำแนกโดยความเป็นขันธ์ได้ ๕ ขันธ์
โดยความอายตนะได้ ๑๒ โดยความเป็นธาตุได้ ๑๘
ชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะ
มี ๓ ชั้น
๑. ชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกตรี (มัชฌิมตรี)
เรียนอภิธัมมัตถสังคหะปริจเฉท ๔, ๕
ปริจเฉท ๔ วิถีสังคหะ หรือวิถีจิต เป็นการแสดงการทำงานของจิต
เจตสิก ที่เกิดขึ้นติดต่อกันโดยไม่ขาดสายทางตา หู จมูก ลิ้น
กาย (ปัญจทวารวิถี) และทางใจ (มโนทวารวิถี) ซึ่งเป็นวิถีที่เกี่ยวข้องอยู่กับรูป
เสียง กลิ่น รส สัมผัส (กามคุณอารมณ์) และเข้าใจถึงอัปปนาชวนวิถี
ซึ่งเป็นวิถีที่ทำให้เกิดฌาน อภิญญา มรรค ผล และนิพพาน
ปริจเฉท ๕ วิถีมุตตสังคหวิภาค ให้ความรู้ความเข้าใจถึงภูมิที่อยู่ของสัตว์ทั้งหลาย
มี ๓๑ ภูมิ และเข้าใจถึงกรรม และผลของกรรม ที่จะนำไปเกิดในอบายภูมิ
๔ (นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน), สุคติภูมิ (มนุษยภูมิ เทวภูมิ)
และพรหมภูมิ
๒. ชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกโท (มัชฌิมโท)
เรียนอภิธัมมัตถสังคหะปริจเฉท ๘, ๙
ปริจเฉท ๘ ปัจจยสังคหวิภาค แสดงกฏการเวียนว่ายตายเกิดของสรรพสัตว์ทั้งหลายคือ
ปฏิจจสมุปบาท ธรรม ๑๒ ประการ มีอวิชชา คือ ความไม่รู้ธรรมที่เป็นเครื่องออกจากทุกข์
(อริยสัจ ๔) เป็นต้น สัตว์ทั้งหลายจึงต้องเวียนว่ายในสังสารวัฏต่อไปไม่สิ้นสุด
ปริจเฉท ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค กล่าวถึงการปฏิบัติธรรม เพื่อลดละและตัดกิเลส
คือ สมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน
๑. สมถกัมมัฏฐาน การทำสมาธิ คือ ฝึกใจให้สงบจากกิเลส (นิวรณ์ธรรม๕)
มีอารมณ์กรรมฐาน ๔๐ อย่าง คือ กสิน ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสสติ ๑๐ จตุธาตุ
๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ พรหมวิหาร ๔ อรูปกรรมฐาน ๔
๒. วิปัสนากัมมัฏฐาน การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ๔ แบบ คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิต
๓. ชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกเอก (มัชฌิมเอก)
ธาตุกถาเป็นหนึ่งในอภิธรรม ๗ คัมภีร์ เป็นคัมภีร์สรูปัตถนิสสยะ
เป็นการนำหัวข้อธรรม (อุเทส) มาจำแนกโดยความเป็นขันธ์ อายตนะ
ธาตุ เพื่อให้ผู้ที่ศึกษาเข้าใจคำว่า สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา
เขา นั้นไม่มี มีแต่สภาพธรรมที่กำลังปรากฏอยู่โดยความเป็นธาตุเท่านั้น
ชั้นมหาอาภิธรรมิกะ มี ๓ ชั้น
คือ
๑. ชั้นมหาอาภิธรรมิกตรี (มหาตรี)
ศึกษาคัมภีร์ ยมก หนึ่งในอภิธรรม ๗ คัมภีร์ เป็นเครื่องบรรลุพระนิพพาน
เป็นเครื่องรู้ปรมัตถธรรม และเป็นเครื่องล่วงวิจิกิจฉา (ความสงสัย)
ของเวไนยสัตว์ในคัมภีร์ยมก มียมก ๑๐ อย่าง ในชั้นนี้ศึกษาเพียง
๒ ยมกะ คือ มูลยมกะ และขันธยมกะ
๒. ชั้นมหาอาภิธรรมิกโท (มหาโท)
ศึกษาคัมภีร์ ยมก” หนึ่งในอภิธรรม ๗ คัมภีร์ คือ ธัมมสังคณี
วิภังค์ ธาตุกถา บุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก มหาปัฏฐาน
ยมก กล่าวถึง ธรรมที่เป็นคู่กัน โดยความเป็นอายตนะ ธาตุ สัจจะ
บุคคลผู้เรียน และนำมาประพฤติปฏิบัติจะรู้ใน ปริญญา ๓ คือ
๑. ญาตปริญญา การรู้ลักษณะ หน้าที่ อาการปรากฏ เหตุใกล้ให้เกิด
รูป-นาม ขันธ์ ๕
๒. ตีรณปริญญา การรู้ รูป-นาม ขันธ์ ๕ โดยความไม่เที่ยงเป็นทุกข์
เป็นอนัตตา
๓. ปหานปริญญา การละฉันทราคะ ละความพอใจ ในรูป-นาม ขันธ์๕ เรียนเพิ่มอีก
๒ ยมก คือ อายตนยมกะ และสัจจยมกะ
๓. ชั้นมหาอาภิธรรมิกเอก (มหาเอก)
ศึกษาคัมภีร์ปัฏฐาน เป็นคัมภีร์ที่ ๗ พระพุทธองค์ทรงแสดงเหตุปัจจัย
โดยนำหัวข้อธรรมมาขยาย และจำแนกธรรมเป็นกุศลธรรม อกุศลธรรม และอพยากตธรรม
โดยความเป็นเหตุปัจจัยบ้าง อารัมมณปัจจัยบ้าง คัมภีร์ปัฏฐานนี้
เป็นคัมภีร์ที่กว้างขวาง มีอรรถที่ลึกซึ้งสุขุมคัมภีรภาพกว่าทุกคัมภีร์
เป็น
|
|